
พระนางจิระประภาเทวี
เรียบเรียงโดย บรามี
สวัสดีค่ะคุณผู้่อ่านทุกท่านคะ กลับมาอีกครั้งนะคะ ได้เวลาอัพเดทเว๊บกันอีกแล้ว ก็ปีนี้ทั้งปีเป็นปีที่บรามีได้เดินทางไปภาคเหนือบ่อยที่สุดเป็นประวัติการเลยค่ะ เรียกว่าไปกันเดือนเว้นเดือนเลย มีธุระปะัปังที่จะต้องขึ้นเหนือกันได้ทั้งปีเลยค่ะ เวลาก๋่ผ่านไปไวเหมือนโกหกนะคะ อีกไม่กี่วัน พวกเราก็จะได้หยุดพักยาว ฉลองวันปีใหม่กันอีกครั้ง ปีกระต่ายกำลังจะผ่านไป แล้วปีมะโรงก็จะกลับมาสวัสดีกับพวกเราอีกรอบ วางแผนไว้หรือยังคะว่าจะไปเทียวที่ไหนกัน
ถ้ายังไม่มีแผน ก็แนะนำให้มาภาคเหนือนะคะ อากาศกำลังเย็นสบาย เรียกว่าออกหนาวได้เลยค่ะ ที่รู้มาเนียก็เพราะคุณ อาจารย์โอม ทำหน้า่ที่รายงานอุณหภูมิตลอดเลยค่ะ บางวันต่ำถึง 16 องศากันเลยทีเดียว บรามีก็ว่าจะแวะไปอีกตอนปลายเดือนธันวาคมนะคะ ขอไปสัมผัสความหนาวซะหน่อยค่ะ เรียกว่าหนีร้อนจากกรุงเทพไปพึ่งเย็นค่ะ
วันนี้จะพาเทีียวชมวัดอีกเช่นเคยนะคะ วันนี้พาไปแ่อ่ว วัดโลกโมฬี พร้อมก้ับกราบอนุสาวรีย์พระนางจิระประภาเทวีด้วยค่ะ พระนางได้ขึ้นครองราชย์ และปกครองเมืองเชียงใหม่ ครองราชย์ พ.ศ.๒๐๘๘-๒๐๘๙ ถึงแม้พระนางจะทรงครองาราชย์เป็นช่วงระยะเวลาสั้น ๆ หลังจากพระสวามีของพระนางถูกลอบปลงพระชนม์ไป แต่ว่าก็นับว่าพระปรีชาสามารถของพระนางได้สามารถนำเมืองเชียงใหม่ให้พ้นภัยได้จากข้าศึกศัตรูค่ะ เรียกว่าถ้าไม่ใช่คนเข้่มแข็งจริงๆ ก็คงนำพาบ้านเมืองให้ผ่านวิกฤตมาได้ง่าย ๆ นะคะ อิสตรีเมือสูญเสียสามี ก็เหมือนสูญเสียเสาหลัีก แถมยังต้องมาแบกรับภาระผู้นำบ้านเมือง เรียกว่าภาระกิจใหญ่หลวงมาก แต่พระนางก็สามารถทำหน้า่ที่ได้อย่างดีค่ะ
บรามีได้ไปกราบอนุสาวรีย์ของพระนางจิระประภาเทวีมาแล้ว ก็อดที่จะประทับใจมาก ๆไม่ได้นะคะ ช่างปั้นโบราณมีฝีมือนัก ๆ ค่ะ สามารถถ่ายทอดความงามของพระนางมาได้แบบชัดเจน เรียกได้ว่าพอได้มองรูปปั้นพระนางแล้วก็ยากที่จะละสายตามาจากพระพักตร์อันอ่อนโยน แสนสวย แต่ในขณะเดียวกัน ก็สามารถสัมผัสได้ถึงความเด็ดเีดียวและเข้มแข็งของพระนางได้ค่ะ
ไม่รู้ว่าจินตนาการทำงานเกินไปหรือเปล่านะคะ แต่ว่า ขึ้นชือว่าผู้หญิงเก่งเราก็ต้องนิยมชมชอบเป็นธรรมดาค่ะ เพราะว่า ผู้หญิงที่แสนสวย แสนเก่ง และ แสนดี เมือได้พบก็ต้องอยากจะทำความรู้จักและเรียนรู้ประวัติพระนางให้มาก จะได้นำมาประยุกต์ใช้กับเรืองราวต่าง ๆ อันแสนยุ่งเหยิงบนโลกใบนี้ค่ะ
เชิญอ่านประวัติพระนางจิระประภาเทวีได้ด่านล่างนะคะ แล้วพบกันใหม่ตอนหน้าค่ะ
_____________________________________________________________________
พระนางจิรประภามหาเทวี (ครองราชย์ พ.ศ. 2088-2089) หรือ มหาเทวีจิรประภา เป็นพระอัครมเหสีในพระเมืองเกษเกล้า พระมหากษัตริย์ลำดับที่ 12 แห่งอาณาจักรล้านนา พระนางจิรประภาได้ปกครองเชียงใหม่ต่อจากพระราชสวามี ในสมัยของพระนางฯ หัวเมืองฝ่ายเหนือเกิดการระส่ำระสายเนื่องจากบ้านเมืองเกิดการแย่งอำนาจระหว่างขุนนางกับเจ้านาย ประกอบกับทั้งมีข้าศึกจากภายนอกมารุกราน ทั้ง กองทัพ พม่า และอยุธยาซึ่งตรงกับรัชสมัย สมเด็จพระไชยราชาธิราช แห่ง กรุงศรีอยุธยา ยกทัพมาถึงเชียงใหม่ ในสมัยของพระนางบ้านเมืองอ่อนแอมากมีศึกสงครามขนาบทั้งทิศเหนือและใต้ พระนางปกครองบ้านเมืองเพียงแค่เพียงปีเศษก็ได้สละราชบัลลังก์แก่ สมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช พระราชนัดดาแห่งอาณาจักรล้านช้าง
มหาเทวีจิรประภาครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2088-2089[6] เนื่องจากพระองค์มีความเหมาะสมเนื่องจากเคยมีบทบาททางการเมือง ด้วยพระนางเป็นพระอัครมเหสีในพระเมืองเกษเกล้า และพระราชมารดาในท้าวซายคำ รวมระยะเวลากว่า 19 ปี (พ.ศ. 2069-2088) และในช่วงเวลาที่พระนางเสวยราชย์ สันนิษฐานว่าพระนางมีพระชนมายุราว 45-46 พรรษ ซึ่งถือเป็นพระชนมายุที่ถือว่าเหมาะสม ด้วยประสบการณ์และความพร้อมดังกล่าวทำให้มหาเทวีสามารถแก้ไขสภาวะบ้านเมืองให้ลุล่วงไปด้วยดี[7]
พระนางมีส่วนสำคัญในการบัญชาการการรบ มีสงครามใหญ่ ๆ ถึง 3 ครั้งในรัชสมัยของพระนางอันได้แก่ สงครามไทใหญ่ สงครามกรุงศรีอยุธยา ถึงสองครั้ง แต่ด้วยพระปรีชาก็สามารถแก้ไขปัญหาด้วยการเจรจา และขอผูกมิตรกับกรุงศรีอยุธยา เมือคราวเกิดศึุกสงครามไทใหญ่ ได้เกิดเหตุแผ่นดินไหว ทำให้วัดเก่าแก่ที่สำคัญอันได้แก่ วัดเจดีย์หลวง วัดพระสิงห์ได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก จากเหตุการณ์นี้ทำให้ข้าศึกชาวไทใหญ่ ล่าถอยไปเอง
หลังจากสิ้นสงครามแล้ว พระเจ้าโพธิสารราชได้รับความดีความชอบสูง และได้นำพระราชโอรส คือ
พระไชยเชษฐาขึ้นมาครองอาณาจักรล้านนา มหาเทวีจิรประภาจึงทรงสละราชบัลลังก์ให้แก่พระราชนัดดา
[11] ในช่วงที่สมเด็จพระไชยเชษฐาทรงครองอาณาจักรล้านนา ในช่วงปี
พ.ศ. 2089-
2090 แต่พระโพธิสารราชทรงเสด็จสวรรคตอย่างกระทันหัน พระไชยเชษฐาจึงเสด็จกลับล้านช้างในปี
พ.ศ. 2090 โดยเสด็จไปพร้อมกับ
พระแก้วมรกต และพระนางจิรประภามหาเทวี
[11] แผ่นดินล้านนาจึงว่างกษัตริย์ เกิดสงครามกลางเมืองเชียงใหม่ด้วยขุนนางต่างสู้รบกัน ดังนั้นระหว่างปี
พ.ศ. 2091-
2094 จึงถือเป็นกลียุคของล้านนา ในที่สุดขุนนางเมืองเชียงใหม่เห็นว่าสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราชทรงไม่เสด็จกลับมาแล้ว จึงได้อัญเชิญ
ท้าวแม่กุเสวยราชย์ต่อไป ด้วยเหตุนี้พระไชยเชษฐาทรงเห็นว่าท้าวแม่กุครองราชย์โดยพระองค์มิชอบ จึงนำไปสู่การยกทัพไปตี
เมืองเชียงแสนในปี
พ.ศ. 2098[11]
ชีวิตบั้นปลายพระชนม์
มหาเทวีจิรประภาได้ตามเสด็จ
พระไชยเชษฐา ผู้เป็นพระราชนัดดาของพระนาง โดยขณะที่พระนางประทับอยู่ในล้านช้าง มหาเทวีจิรประภาได้โปรดฯ ให้สร้าง
ธาตุน้อย พระธาตุที่มีขนาดย่อมกว่าพระธาตุหลวงของวัดมหาธาตุ
เมืองหลวงพระบาง ประเทศลาว โดยมีลักษณะเป็นศิลปะล้านนาที่มีลักษณะรูปทรงเดียวกันกับ พระเจดีย์
วัดโลกโมฬี ที่พระภัสดาของพระองค์โปรดฯ ให้สร้างนอกกำแพงเมืองเชียงใหม่ พระบางจนกระทั่งเสด็จสวรรคตโดยมิได้เสด็จนิวัติกลับไปยังเชียงใหม่อีกเลย
[12] แต่ก็ไม่ปรากฎหลักฐานแน่ชัดว่าทรงเสด็จสวรรคตในปีใด
อ่านกันพอสังเขปนะคะ ถ้ามีโอกาสไปเชียงใหม่อย่าลืมแวะไปกราบพระนางให้ได้นะคะ พบกันใหม่ตอนหน้าค่ะ
บรามี